หน้าเว็บ

แบบฝึกทักษะ

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พอลิแซ็กคาไรด์ (polyseccharide)


พอลิแซ็กคาไรด์ (polyseccharide) คือ คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ มีสูตรทั่วไปคือ (C6H10O5)n 
 พอลิแซ็กคาไรด์ เกิดได้ดังนี้
nC6H12O6 --->  (C6H10O5)n    +   nH2O 

พอลิแซ็กคาไรด์แบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้

  • แป้ง คือ พอลิแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากการรวมตัวของกลูโคส มีมวลโมเลกุล 10,000-100,000 จัดเป็น คาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในพืช มีอยู่ 2 ประเภท คือ อะไมโลส และ อะไมโลเพกติน
  • ไกลโคเจน คือ พอลิแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากการรวมตัวของกลูโคส โดยมีโครงสร้างที่มีกิ่งก้าน มีการแตกกิ่งทุกตำแหน่งที่ 8-10 ของโมเลกุลกลูโคส พบมากในตับและกล้ามเนื้อ
  • เซลลูโลส คือ พอลิแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากการรวมตัวของกลูโคส ซึ่งเป็นโครงสร้างของผนังเซลล์ที่ให้ ความแข็งแรงแก่ต้นพืช มีโครงสร้างเป็นโซ่ตรง ไม่มีกิ่งก้าน
ดังที่ไดกล่าวมาแล้วว่า แป้ง เซลลูโลสและไกลโคเจมมีกลูโคสเป็นองค์ประกอบ แต่มีโครงสร้างโมเลกุลแตกต่างกัน จึงมีผลทำให้สมบ้ติของสารเหล่านี้แตกต่างกัน ถ้าพิจารณาสมบัติทางกายภาพของคาร์โบไฮเดรตจะพบว่า คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล้ฏ เช่น กลูโคส ฟรักโตส มอลโทส และซูโครสจะละลายน้ำได้ดี มีรสหวาน แต่สำหรับพวกที่มีโมเลกุลใหญ่หรือมวลโมเลกุลสูงจะละลายน้ำได้น้อย ไม่มีรสหวาน ไม่มีรูปผลึก นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์เนื่องจากความมีขั้วของโมเลกุล นอกจาก แป้ง เซลลุโลสและไกลโคเจนแล้วยังมีพอลิแซ็กคาไรด์อีกหลายประเภทที่พบในธรรมชาติ เช่น ไคติน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น