กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid)


กรดนิวคลีอิก (nucleic acid)  คือ สารชีวโมเลกุลซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน (C) ธาตุไฮโดรเจน (H) ธาตุออกซิเจน (O) ธาตุ ไนโตรเจน (N) และธาตุฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบ กรดนิวคลีอิกเป็นสารโมเลกุลจนาดใหญ่ที่เกิดจาก หน่วยย่อย คือ นิวคลีโอไทด์

นิวคลีโอไทด์ (nucleotide) คือ หน่วยย่อยของกรดนิวคลีโอไทด์ ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ เบส มี 5 ชนิด คือ อะดินีน (adenine ; A) กวานีน (guanine ; G) ไทนีน (thymine ; T) ไซโตซีน (sytosine ; C) และยูราซิล (uracil ; U) มีสูตรโครงสร้างดังนี้


การแปลรหัส Translation

น้ำตาล มีอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำตาลไรโบส (ribose) และน้ำตาลดีออกซีไรโบส (reoxyribose) น้ าตาลทั้งสองชนิดนี้มีคาร์บอน 5 อะตอมเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ตำแหน่งของคาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ของไร โบสมี –H และ –OH ส่วนดีออกซีไรโบสจะมีหมู่ –H 2 หมู่ ซึ่งมีโครงสร้างดังนี้



ฟอสเฟต มีสูตรโครงสร้างดังนี้




DNA และ RNA



DNA (deoxyribonucleic acid) คือ กรดนิวคลีอิกซึ่งมีดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์เป็นหน่วยย่อย ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สาย DNA เกิดจากหมู่ –OH ของคาร์บอนในต าแหน่งที่ 3 ของ น้ าตาลดีออกซิไรโบสในดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์โมเลกลุลหนึ่งสร้างพันธะกับหมู่ –OH ของคาร์บอนใน ตำแหน่งที่ 5 ของน้ำตาลดีออกซิไรโบสในดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์อีกโมเลกลุลหนึ่ง ทำให้ได้ดีออกซีไรโบนิวคลี โอไทด์เป็นสายยาวดังนี้


DNA ยังมีโครงสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยสายของ DNA 2 สาย มีการสร้างพันธะระหว่างเบส โดยที่ ไทนีนใน DNA สร้างหนึ่งสร้างพันธะกับอะดีนีนใน DNA อีกสายหนึ่ง และไซโตซีนใน DNA สายหนึ่งสร้างพันธะ กับกวานีนใน DNA อีกสายหนึ่งดังรูป


การสร้างพันธะระหว่างเบสทำให้ DNA 2 สาย บิดเป็นเกรียว ดังรูป




RNA (ribonucleic acid) คือ กรดนิวคลีอิกซึ่งมีไรโบนิวคลีโอไทด์เป็นหน่วยย่อย พบในนิวเครียส และไซโทพลาซึม ทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน RNA มีโครงสร้างคล้ายกับ DNA ดังรูป




แต่ RNA มีโครงสร้างเป็นสายเดี่ยว จึงไม่มีการสร้างพันธะของเบสระหว่าง RNA 2 สาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น