ลิพิด (Lipid)

เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย C , H , O เป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน พบในพืชและใน สัตว์ทั่วไป ซึ่งพบว่าเมื่อพวกไขมันเผาผลาญให้พลังงานประมาณ 9.0 กิโลแคลอรีต่อกรัม

    ประโยชน์ของไขมัน
  • เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกาย
  • สร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย
  • ช่วยรองรับและป้องกันอวัยวะภายใน
  • ลำเลียงและการดูดซึมของวิตามิน
  • เป็นเนื้อสัมผัส
  • ใช้ในการทำสบู่


ไขมันและน้ำมัน (Lipids)

เป็นสารประกอบประเภทเอสเทอร์ (หมู่ฟังก์ชัน แอลคอกซีคาร์บอนิล ) ซึ่งเกิดจาก แอลกอฮอล์บางชนิด เช่น กลีเซอรอล กับ กรดไขมัน (fatty acid) ดังสมการ

ถ้าเป็นของแข็ง เรียกว่า ไขมัน (wax) ถ้าเป็นของเหลว เรียกว่า น้ำมัน (oil)

หน้าที่สำคัญของไขมันและน้ำมัน


  • เป็นโครงสร้างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์
  • เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต
  • การเผาผลาญพลังงาน

สมบัติของไขมันและน้ำมัน

ไขมันและน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (น้ำเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงไม่สามารถละลายไขมัน/น้ำมันได้) ส่วนตัวทำละลายอินทรีย์เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงละลายไขมันได้


ฟอสโฟลิพิด (Phospholipids)


  • ฟอสโฟลิพิด (phospholipid)เป็นลิพิดที่พบในส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ (cellmembrane)(เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เลือกให้สารบางชนิดผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ )
  • ฟอสโฟลิพิด 1 โมเลกุล เกิดจากกลีเซอรอล 1 โมเลกุล รวมตัวกับกรดไขมัน 2 โมเลกุล หมู่ฟอสเฟต 1 หมู่ และมีสารอื่นซึ่งมีขนาดโมเลกุลเล็กและมักจะมีขั้วหรือมีประจุเกิดพันธะกับหมู่ฟอสเฟต ดังนี้

โมเลกุลของฟอสโฟลิพิด

    แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
  • ส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) หรือส่วนที่มีขั้ว คือส่วนที่เป็นหมู่ฟอสเฟต (ส่วนหัว) มีสมบัติละลายน้ำ
  • ส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (non-polar tail ) หรือส่วนที่ไม่มีขั้ว คือ ส่วนที่เป็นกรดไขมัน เป็นส่วนหางที่ไม่มีขั้ว (non-polar tail ) ไม่ละลายน้ำ
  • เมื่อฟอสโฟลิพิดอยู่ในน้ำหรือในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย อาจเกิดเป็นโครงสร้าง 2 ชั้น โดยหันส่วนที่ไม่มีขั้ว (ไฮโดรคาร์บอน) หันเข้าหากัน และส่วนที่มีขั้ว (หมู่ฟอสเฟต ) หันเข้าหาโมเลกุลของน้ำ

ถ้าฟอสโฟลิพิดมีโมเลกุลขนาดใหญ่ โครงสร้าง 2 ชั้นสามารถเชื่อมต่อกันเป็นวง โมเลกุลฟอสโฟลิพิดที่มี 2 ส่วน เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีโมเลกุลฟอสโฟลิพิด หนา 2 ชั้น เรียงตัวกัน ส่วนไขมัน (ไม่ชอบน้ำ) อยู่ด้านในและประกบกัน ส่วนชอบน้ำอยู่ด้านนอก ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือยอมให้สารบางชนิดเข้าออกเท่านั้น โดย สารที่ไม่มีขั้ว (ไม่ชอบน้ำ – พวกไขมัน) และสารละลายได้ในไขมัน จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยการแพร่สารมีขั้วต้องใช้โปรตีนเป็นตัวพา หรือใช้พลังงานด้วย

ไข


เป็นลิพิดที่พบทั้งพืชและสัตว์ เป็นของแข็งและไม่ละลายน้ำ พบเป็นสารเคลือบเส้นผม ขนนก และขนสัตว์ต่าง ๆทำให้มีลักษณะเป็นเงาและเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ไขยังขับจากหูที่เรียกว่าขี้หู (ear wax) เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของเยื่อหู นอกจากนี้ยังมีไขที่ขับออกจากต่อไขมันใต้ผิวหนังเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในพืชมักพบเป็นสารเคลือบผิวของใบไม้และเปลือกไม้เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ

องค์ประกอบของ ไข

  • ไขเป็นเอสเทอร์ ที่เกิดจากกรดไขมัน กับแอลกอฮอล์ที่มีโซ่ยาว
  • ส่วนที่มาจากกรดไขมันจะมีจำนวนอะตอมคาร์บอนเป็นเลขคู่ ระหว่าง 14 – 36 อะตอม
  • ไขเป็นของแข็งที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและแอลกอฮอล์ที่เป็นองค์ประกอบ
  • ไขทุกชนิดไม่ละลายน้ำ ไขที่พบมักเคลือบอยู่ที่ผิวของใบไม้หรือผลไม้ และที่ผิวหนังหรือขนสัตว์ ทำหน้าที่หล่อลื่นหรือ ป้องกันการสูญเสียน้ำ ปัจจุบันมีการนำไขมาเคลือบผิวผลไม้เพื่อช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา

สเตอรอยด์ (Steroid)


  • สเตอรอยด์ เป็นกลุ่มของลิพิด ที่มีโครงสร้างเฉพาะ
  • ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคาร์บอน 6 เหลี่ยม (3วง) และ คาร์บอน 5 เหลี่ยม ( 1 วง) เชื่อมต่อกัน ดังรูป
  • สเตอรอยด์ มีสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในไขมันและตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล เป็นต้น
  • ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติคอยด์ ฮอร์โมนเพศ กรดน้ำดี





สารประเภทสเตอรอยด์

1)คอเลสเทอรอล (Cholesterol) 2) ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติคอยด์ 3) ฮอร์โมนเพศ 4) กรดน้ำดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น