คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

  • คาร์โบไฮเดรต หมายถึง คาร์บอนที่อิ่มตัวด้วยน้ำ หรือ เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วย C , H , O ที่มีหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หรือหมู่คาร์บอนิล (-CO) และ หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) เป็นหมู่ฟังก์ชัน ถือเป็นสารชีวโมเลกุลชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ
  • ทำหน้าที่เป็นสารสะสมพลังงานสำหรับสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด
  • พบทั่วไปในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส และ ไกลโคเจน โดยส่วนใหญ่ที่พบ คือ แป้ง และเซลลูโลส ส่วนไกลโคเจน พบในเนื้อเยื่อ น้ำไขข้อในสัตว์และผนังเซลล์


ชนิดและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต

โครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตตามจำนวนหน่วยย่อย สามารถจำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่

  • โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide)
  • ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide)
  • พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysccharide)




โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว

  • เป็นน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กมาก ประกอบ คาร์บอน 3 ถึง 8 อะตอม
  • เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ ไดแซ็กคาไรด์
  • สูตรทั่วไปเป็น (CH2O)n หรือ CnH2nOn โดยที่ n มีค่าตั้งแต่ 3 อะตอม ถึง 8 อะตอม
  • มีหมู่ฟังก์ชั่นเป็น - C – H (หมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์) และหมู่ -OH (ไฮดรอกซิล)
  • เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างได้แก่ กลูโคส
  • เป็นแหล่งพลังงานหลักของสิ่งมีชีวิต เช่น ฟรุกโตส กาแลกโตส และแมนโนส

สามารถจำแนกตามหมู่ฟังก์ชัน ได้เป็น 2 ประเภท คือ แอลโดสและคีโตส ซึ่งมอนอแซกคาร์ไรด์แอลโดสเกิดจากการที่ภายในโมเลกุลมีหมู่ฟังก์ชันของคาร์บอกซาลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบ ส่วนคีโตส เกิดจากภายในโมเลกุลมีหมุ่ฟังก์ชันคาร์บอนิลเป็นองค์ประกอบ



ชื่อ สูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้าง แหล่งที่พบทั่วไป
กลูโคส (glucose) C6H12O6 มีในพืช เช่น องุ่น น้ำผึ้ง อ้อย รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของพอลิแซกคาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลใหญ่) เป็น Blood sugar
ฟรุกโตส (fructose) C6H12O6 มีในผลไม้ น้ำผึ้ง จัดว่าเป็นน้ำตาลที่มีความหวานมากที่สุด
กาแลกโตส (galactose) C6H12O6เป็นส่วนประกอบของน้ำตาลในน้ำนม พบในไกลโคไลปิด (ไขมันที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์ ของเนื้อเยื่อประสาท พบในเลือด กระดูกอ่อน และพังพืด

โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เมื่อระดับกลูโคสในเลือดสูงผิดปกติตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพื่อลดระดับกลูโคสในเลือด ฮอร์โมนอินซูลินสามารถเร่งกระบวนการสังเคราะห์ไกลโคเจนจากกลูโคส จึงทำให้สามารถลดระดับกลูโคสลง และเกิดไกลโคเจนซึ่งเป็นพลังงานสำรองในขณะที่ร่างกายขาดแคลนพลังงาน ถ้าฮอร์โมนอินซูลินทำงาน ผิดปกติกลูโคสในเลือดจะสูงขึ้น จึงมีการขับกลูโคสบางส่วนอออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นอาการของโรคเบาหวาน


น้ำตาลเทียม
    เป็นสารที่ให้ความหวานแทนกลูโคส สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่
  • แอสปาร์แทม เป็นสารประเภทไดเพปไทด์ เกิดจากกรดอะมิโนแอสปาติกกับฟีนิลอะลานีน
  • แซ็กคารีน มักนำไปใช้ในผลไม้ดองและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม
  • ไซลิทอล เป็นสารให้ความหวานที่ได้จากพืช ใช้ทำผลิตภัณฑ์สำหรับช่องปาก เป็นต้น

ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่

  • เกิดจากโมโนแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุลมารวมกัน (โดยสูญเสียน้ำ 1 โมเลกุล) มีชื่อเรียกตามชนิดของโมโนแซ็กคาไรด์
  • ไดแซ็กคาไรด์ที่พบมากในธรรมชาติและเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ได้แก่ มอลโทส ซูโครส และแลกโทส
  • ไดแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส หรือน้ำตาลทราย (C12H22O11) เป็นแซกคาไรด์ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลูโคส และฟรุกโตส

การเกิดไดแซ็กคาไรด์

น้ำตาลทราย(น้ำตาลซูโครส) = กลูโคส + ฟรักโตส น้ำตาลมอนโทส =กลูโคส + กลูโคส น้ำตาลแลกโทส = กาแลกโทส + กลูโคส


พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลใหญ่


เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ มีโครงสร้างซับซ้อนมาก เกิดจากโมโนแซ็กคาไรด์หลายโมเลกุลรวมกัน ซึ่งจัดเป็นพอลิเมอร์ (Polymer) โดยกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน ดังปฏิกิริยา ได้แก่ แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส ซึ่งไม่ละลายน้ำ โมเลกุลของแป้งเกิดจากกลูโคสหลาย ๆ โมเลกุลรวมกัน

แป้ง


  • แป้ง พบในเมล็ด หัว ราก ผลและใบของต้นไม้ เป็นแหล่งสะสมอาหารที่สำคัญต้นไม้ และร่างกายคนสามารถ
  • ย่อยแป้งได้ (เอนไซม์อะไมเลส) ถ้าทำให้แป้งสุกก่อน จะย่อยได้ง่ายขึ้น โมเลกุลของแป้งจะสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้
  • โดยเอนไซม์อะไมเลสที่มีอยู่ในน้ำลาย (เวลาเคี้ยวข้าวแล้วรู้สึกหวาน)

เซลลูโลส


เซลลูโลส เป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ของต้นไม้และในเนื้อไม้ เซลลูโลสพบได้มากในอาหารพวกผัก ถั่ว และผลไม้

ไกลไคเจน


เป็นพอลิแซ็กคาไรด์อีกชนิดหนึ่ง เกิดจากกลูโคสเช่นเดียวกัน พบในเนื้อเยื่อของสัตว์ ในตับและกล้ามเนื้อของสัตว์ ไกลโคเจนในตับมีไว้เพื่อปรับระดับกลูโคสในเลือดให้คงที่



ปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต

ปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรตจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ ปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ และ ปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน


ปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์


  • โมโนแซ็กคาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ โดยเกิดปฏิกิริยาได้เป็น ตะกอนสีแดงอิฐ
  • สารละลายเบเนดิกต์จะไม่เกิดปฏิกิริยากับพวกไดแซ็กคาไรด์ หรือ พอลิแซ็กคาไรด์อื่น
  • สำหรับสารละลายเบเนดิกต์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทดสอบหาน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจสอบ โรคเบาหวานได้ เนื่องจากเมื่อเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะขับกลูโคสออกมาทางปัสสาวะ

ปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน

แป้ง (พอลิแซ็กคาไรด์) สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนได้เกิดปฏิกิริยาได้ตะกอนสีม่วงอมน้ำเงิน พวกน้ำตาลทั้งโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ จะไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน


ไร้หรือหมู๊ รู้หมือไร่ รู้หรือไม่ ???
มอนอเมอร์ของแป้ง คือ น้ำตาลกลูโคส
น้ำตาลกลูโคส (โมโนแซ็กคาไรด์) มีสูตรโมเลกุล คือ C6H12O6
ร่างกายมนุษย์ย่อยแป้งได้หรือไม่ ได้
ร่างกายมนุษย์ย่อยเซลลูโลสได้หรือไม่ ไม่ได้
ต้องการทดสอบว่าสารใดเป็นแป้ง ใช้วิธีการใด ทดสอบโดยใช้ไอโอดีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น