วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide)


โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) คือ คาร์โบไฮเดรตมีโมเลกุลขนาดเล็กที่สุด เมื่อร่างกาย ได้รับโมโนแซ็กคาไรด์จึงไม่ต้องย่อย โมโนแซ็กคาไรด์มีสูตรทั่วไปคือ  CnH2nOn โดยที่ n คือ จำนวนอะตอมของ คาร์บอน เริ่มตั้งแต่ 3 อะตอมเป็นต้นไป เช่น
  • ไตรโอส คือ โมโนแซ็กคาไรด์ที่มีคาร์บอน 3 อะตอม มีสูตรโมเลกุล C3H6O3  เช่น กลีเซอรอลดีไฮด์
  • เทโทรส คือ โมโนแซ็กคาไรด์ที่มีคาร์บอน 4 อะตอม มีสูตรโมเลกุล C4H8Oเช่น อิริโทรส
  • เพนโทส คือ โมโนแซ็กคาไรด์ที่มีคาร์บอน 5 อะตอม มีสูตรโมเลกุล C5H10O5  เช่น ไรโบส และไรบูโรส
  • เฮกโซส คือ โมโนแซ็กคาไรด์ที่มีคาร์บอน 6 อะตอม มีสูตรโมเลกุล C6H12Oเช่น
  • - กลูโคส (glucose) มีสูตรโครงสร้างแบบเส้นและแบบวงดังนี้

-   ฟรักโตส(fructose)มีความหวานมากที่สุดพบมากในผลไม้น้ำผึ้ง มีสูตรโครงสร้างแบบเส้นและ แบบวงดังนี้ 
    - กาแลคโทส (galactose) เป็นโมโนแซ็กคาไรด์ที่ไม่พบเป็นอิสระในธรรมชาติ มักจะพบรวมกับน้ำตาลกลูโคสกลายเป็นแลกโทส กาแลคโทสพบในน้ำนม มีสูตรโครงสร้างแบบเส้นและแบบวงดังนี้
  กลูโคสเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ เมื่อกลูโคสถูกดูดซึมที่ลำไส้จะถูกขนส่งไปยังเซลล์ต่างๆ โดยเลือด เมื่อกลูโคสถูกขนส่งไปยังเซลล์ต่างๆ จะมีการหายใจซึ่งเป็นกระบวนการที่ซบซ้อนในการสลายกลูโคสเพื่อให้ได้ พลังงาน โดยมีสมการการย่อยสลายแบบย่อดังนี้  



-เมื่อระดับกลูโคสในเลือดสูงผิดปกติตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินเพื่อลดระดับกลูโคสในเลือด ฮอร์โมนอินซูลินสามารถเร่งกระบวนการสังเคราะห์ไกลโคเจนจากกลูโคส จึงทำให้สามารถลดระดับกลูโคสลง และเกิดไกลโคเจนซึ่งเป็นพลังงานสำรองในขณะที่ร่างกายขาดแคลนพลังงาน ถ้าฮอร์โมนอินซูลินทำงาน ผิดปกติกลูโคสในเลือดจะสูงขึ้น จึงมีการขับกลูโคสบางส่วนอออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นอาการของโรคเบาหวาน

- เมื่อระดับกลูโคสในเลือดต่ำผิดปกติ จะมีการกระตุ้นเพื่อหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน ฮอร์โมนกลูคากอน สามารถเพิ่มระดับกลูโคสในเลือดให้สูงขึ้น ถ้าฮอร์โมนกลูคากอนท างานผิดปกติระดับกลูโคสในเลือดจะต่ าลง อาจทำให้กลูโคสไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุในเนื้อเยื่อในสมองถูกทำลายได้ 
นอกจากนี้มอนอแซกคาร์ไรด์ สามารถจำแนกตามหมู่ฟังก์ชัน ได้เป็น 2 ประเภท คือ แอลโดสและคีโตส ซึ่งมอนอแซกคาร์ไรด์แอลโดส เกิดจากการที่ภายในโมเลกุลมีหมู่ฟังก์ชันของคาร์บอกซาลดีไฮด์เป็นองค์ประกอบ ได้แก่ กลูโคส กาแลกโทสและไรโบส ส่วนคีโตส เกิดจากภายในดมเลกุลมีหมุ่ฟังก์ชันคาร์บอนิลเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ ฟรักโตสและไรบูโรส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น